ใบกระท่อม 10 พืชสมุนไพรที่ได้รับการปลดจากสถานะ “ยาเสพติดให้โทษ

ใบกระท่อม

ใบกระท่อม 10 พืชสมุนไพรที่ได้รับการปลดจากสถานะ “ยาเสพติดให้โทษ”หรือป่าว การปลดออกจากสถานะยาเสพติดมา ปลูกเพื่อการบริโภคและขายได้ ใบกระท่อม

ใบกระท่อม
ใบกระท่อม

หลังจากมีสถานะเป็น “ยาเสพติดให้โทษ” ภายใต้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษมานานถึง 41 ปี วันนี้ (24 ส.ค.) พืชกระท่อมได้รับการปลดออกจากสถานะยาเสพติดมาเป็นพืชที่ประชาชนปลูกเพื่อการบริโภคและขายได้ทั่วไป แม้แต่ผู้ต้องขังหรืออยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับพืชกระท่อมก็จะได้รับการปล่อยตัวหรือยุติคดีโดยไม่ถือว่าเคยกระทำความผิด

พืชกระท่อมเป็น 1 ในพืช 4 ชนิดที่อยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แก่ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น และเห็ดขี้ควาย

แต่เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 ซึ่งมีสาระสำคัญคือการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ให้มีผลบังคับใช้ 90 วันนับแต่วันประกาศซึ่งตรงกับวันนี้

  • กัญชา : กฎหมายใช้กัญชา-กระท่อมทางการแพทย์มีผลบังคับใช้แล้ว
  • ที่มายาเสพติด หนึ่งคำถามที่ทหารปัตตานีตอบไม่ได้
  • กัญชา: พืชร้ายหรือสมุนไพรทางเลือก
  • น้ำมันกัญชา : ทำความเข้าใจ ปลดล็อกสารสกัดกัญชา-กัญชง ออกจากบัญชียาเสพติด

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอธิบายว่า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 8 นี้ จะส่งผลให้ประชาชนสามารถปลูกและบริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน รวมทั้งยังซื้อหรือขายใบกระท่อมโดยไม่ผิดกฎหมาย แต่หากมีการนำไปผสมยาเสพติดอื่น ๆ เช่น “สี่คูณร้อย” ซึ่งเป็นสารเสพติดที่เกิดจากการนำยาน้ำแก้ไอมาผสมกับใบกระท่อม ยังถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย

นอกจากนี้ จะมีการปล่อยผู้กระทำความผิดตามกฏหมายพืชกระท่อมจำนวน 1,038 ราย โดยถือว่าไม่เคยกระทำความผิด สำหรับผู้ถูกจับกุมหรือจำเลยในชั้นต่าง ๆ จะได้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและผู้ต้องขังคดีความผิดเกี่ยวกับพืชกระท่อมต่อไป แต่ผู้ที่ทำผิดในคดีที่เกี่ยวกับสารเสพติด “สี่คูณร้อย” จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนี้

ข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรมระบุว่า การปลดกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษทำให้ลดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของภาครัฐและผู้ต้องหาหรือจำเลยถึง 1.69 พันล้านบาท โดยคำนวณจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคดีที่ 76,612 บาท ซึ่งคดีข้อหาพืชกระท่อมที่ขึ้นสู่ศาลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 – 30 มิ.ย. 2564 มีมากถึง 22,076 คดี

บีบีซีไทยรวบรวม 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระท่อมมานำเสนอต้อนรับการกลับสู่สถานะ “พืชยา” ซึ่งมีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

กระท่อมเป็นพืชวงศ์กาแฟ

กระท่อมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบคล้ายใบกระดังงา มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินี เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง ในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์แตงกวา พันธุ์ยักษาใหญ่ และพันธุ์ก้านแดง พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และยังพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น อีด่าง อีแดง กระอ่วม ท่อมหรือท่ม

พืชกระท่อมมีสรรพคุณทางยา

สมัยโบราณมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอ ทำให้นอนหลับ โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา กลุ่มผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรบริโภคใบกระท่อมเพื่อกดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทำให้ทำงานได้ยาวนานขึ้น ชาวบ้านในภาคใต้ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว รวมทั้งรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกรวบรวมตำรับยาแพทย์แผนโบราณที่ใช้พืชกระท่อมได้ 18 ตำรับทั้งหมดเป็นคัมภีร์ยาหลวงทั้งสิ้น เช่น ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตำรายาโรงพระโอสถ (สมัยรัชกาลที่ 2) ตำรายาศิลาจารึกวัดโพธิ์ (รัชกาลที่ 3) ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ (รัชกาลที่ 5) ตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์เจ้ากรมหมอหลวง (รัชกาลที่ 5) ตำราเวชศึกษาของพระยาพิศณุประสาทเวช (รัชกาลที่ 5) ตำรายาแพทย์ตำบลของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (แพทย์หลวงประจำพระองค์ในรัชกาลที่ 6) และคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เป็นต้น

“ไมทราไจนีน” สารสำคัญที่พบเฉพาะในพืชกระท่อม

การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่าสารที่พบในกระท่อมมากที่สุดเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลายระบบและถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง สารสำคัญที่พบคือไมทราไจนีน (mitragynine) ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ นอกจากนี้ยังพบสารสกัดจากใบกระท่อมที่สำคัญ เช่น 7-hydroxymitragynine ที่มีฤทธิ์ระงับปวดได้คล้ายกับการใช้มอร์ฟีน แม้จะมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีน แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน พัฒนาการในการติดยาช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปี

กินพืชกระท่อมไม่ถูกวิธีมีอันตรายต่อสุขภาพ

การบริโภคกระท่อมในปริมาณต่ำ ๆ จะออกฤทธิ์กระตุ้น ลดอาการเมื่อยล้า ทำงานได้นานขึ้น แต่ถ้าใช้ในปริมาณสูงจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทและเสพติด ยิ่งถ้าเสพไปนาน ๆ ผู้เสพอาจมีอาการท้องผูก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังคล้ำลง บางรายที่เสพมากเกินไปอาจพบอาการแขนกระตุก อารมณ์ซึมเศร้าหรือไม่ก็ก้าวร้าว กระวนกระวาย ความดันสูง มีอาการทางจิต หวาดระแวง เห็นภาพหลอน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เมื่อหยุดเสพใบกระท่อมก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรง อ่อนเพลีย ทำงานไม่ได้ ปวดเมื่อยตัว

จากพืชสมุนไพรกลายเป็น “สี่คูณร้อย”

ศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระบุว่าในช่วงปี 2547 พบว่าสารเสพติดที่เรียกว่า “สี่คูณร้อย” (4×100) เริ่มแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สี่คูณร้อยเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมหลัก 4 อย่าง คือ น้ำต้มใบกระท่อม น้ำอัดลมประเภทโคล่า ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีน และยากันยุง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสูตรเริ่มแรกของสี่คูณร้อยตามการระบุของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สี่คูณร้อยมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพเมามาย และยังมีรายงานว่ามีเยาวชนเสียชีวิตจากการเสพสี่คูณร้อยอีกด้วย

นอกจากสูตรสี่คูณร้อยแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีการใส่ส่วนผสมและยาที่มีฤทธิ์กล่อมประสาทอีกหลายอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เสพ การแพร่ระบาดของสี่คูณร้อยกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายหน่วยงานให้ความสำคัญ และยังทำให้พืชกระท่อมถูกจับตามากยิ่งขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนผสมหลักของเครื่องดื่มที่นำไปสู่การเสพยาเสพติดชนิดอื่นที่รุนแรงขึ้น

ถูกควบคุมครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 8

ประเทศไทยออกกฎหมายควบคุมการครอบครอง ปลูก เสพ ซื้อ ขายพืชกระท่อมเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 8 เมื่อมีการตรา พ.ร.บ. พืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุว่า “ห้ามผู้ใดเสพ ปลูก มี ซื้อ ขาย ให้ หรือแลกเปลี่ยนพืชกระท่อม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เพื่อประโยชน์ในการประกอบโรคศิลป์หรือวิทยาศาสตร์ ผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ”

อย่างไรก็ตามผู้ศึกษาเกี่ยวกับพืชกระท่อมวิเคราะห์ว่า การออกกฎหมายให้กระท่อมเป็นยาเสพติดต้องห้ามในสมัยนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและภาษีของรัฐ เนื่องจากฝิ่นที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดการผลิตมีราคาแพง ทำให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น มิใช่เป็นการออกกฎหมายเพื่อป้องกันการเสพติดพืชกระท่อม

เมื่อมีการออก พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พืชกระท่อมก็ถูกควบคุมอย่างต่อเนื่องในฐานะ “ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5” ซึ่งมีพืชเสพติดจัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งหมด 4 ชนิด นอกจากกระท่อมแล้วก็มีกัญชา ฝิ่นและเห็ดขี้ควาย

ปี 2562 มีการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ เพื่อปลดล็อกให้มีการใช้กัญชาและพืชกระท่อมในทางการแพทย์ โดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 “เว้นแต่การเสพนั้นเป็นการเสพเพื่อการรักษาโรค ตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ที่ได้รับใบอนุญาต หรือเป็นการเสพเพื่อการศึกษาวิจัย” แต่การเสพ ครอบครอง ขาย นำเข้าหรือส่งออกพืชกระท่อมที่นอกเหนือจากนี้ยังถือว่าเป็นความผิด มีโทษทั้งจำคุกและปรับ

พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 ให้สถานะใหม่พืชกระท่อม

ปี 2564 มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษอีกครั้งเป็นฉบับที่ 8 มีสาระสำคัญอยู่ที่การปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ รวมทั้งยกเลิกบทลงโทษทั้งหมดที่เกี่ยวกับพืชกระท่อม

พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2564 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ส.ค. 2564 โดยระบุถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ว่า

“โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ที่มีการบริโภคพืชกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5”

พืชกระท่อมกำลังจะมีกฎหมายเป็นของตัวเอง

ตอนต่อไปหลังจากปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษแล้ว ก็จะมีการออก พ.ร.บ. พืชกระท่อม เพื่อจัดการดูแลพืชกระท่อมโดยเฉพาะ ซึ่งร่าง พ.ร.บ. พืชกระท่อมที่เสนอโดยกระทรวงยุติธรรมได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเข้าสู่การพิจารณาในสภา

กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดมาตรการกำกับดูแลการปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น

  • กำหนดให้การปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม เพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ต้องได้รับใบอนุญาต
  • กำหนดคุณสมบัติและระเบียบเกี่ยวกับสถานที่ขาย นำเข้าหรือส่งออกพืชกระท่อม
  • กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด เช่น ห้ามขายใบกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท, ห้ามบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงผสมกับยาเสพติดให้โทษ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท เป็นต้น

ต้นพืชกระท่อมในต่างประเทศ

องค์การสหประชาชาติไม่ได้ประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่จากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้ขอความร่วมมือให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของสารออกฤทธิ์ ซึ่งมีพืชกระท่อมรวมอยู่ด้วย ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน นิวซีแลนด์จัดให้พืชกระท่อม สารไมทราไจนีน และสาร 7-hydroxymitragynine เป็นยาควบคุม

แต่ก็มีหลายประเทศที่อนุญาตให้ซื้อขายและส่งออกกระท่อมได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น อินโดนีเซีย ในอังกฤษมีการขายกระท่อมทั้งใบสด ใบแห้ง ผง และสารสกัด ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์

ใบกระท่อมต้านโควิด-19 เป็น “ข่าวปลอม”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ออกเอกสารชี้แจงกรณีที่โลกออนไลน์มีการส่งต่อข้อมูลเรื่อง “ใบกระท่อมต้านโควิด-19” มีการโฆษณาชวนเชื่อในสื่อออนไลน์โดยผู้ผลิตผลิณภัณฑ์จากกระท่อมว่าสามารถใช้ใบกระท่อมป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 โดยกรมการแพทย์แผนไทยฯ ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น “ข่าวปลอม” ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการวิจัยที่ยืนยันว่าใบกระท่อมมีสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 นอกจากนี้องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ยังได้ออกคำเตือนเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและ ไม่ได้รับการพิจารณาด้านความปลอดภัย

อ้างอิงข้อมูลจาก:

“กระท่อม..พืชที่ทุกคนอยากรู้” โดย ดร. ภก. สมนึก บุญสุภา ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ใบกระท่อม สรรพคุณทางยา ประโยชน์และโทษ” โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถานะของกัญชาและพืชกระท่อมตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษปัจจุบัน” โดย พิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ นิติกรชำนาญการพิเศษ กรมการปกครอง สถานะของกัญชาและพืชกระท่อมตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษปัจจุบัน

กระท่อมและกัญชาเป็นความมั่นคงด้านยาของประเทศ” ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุล คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แจ้งข่าวด่วน ๆๆๆๆ งานมงคลสมรส

💕ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเกียรติในงาน💕👰🏻งานมงคลสมรสของเรา2คน🤵🏻 บิ๊ก 💞 เบนซ์ 💌ขออนุญาตใช้พื้นที่นี้เรียนเชิญเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ญาติสนิทมิตรสหายและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน มาร่วมแสดงความยินดีในงานแต่งของเราด้วยนะครับ#ตรีมสีชมพูขาว🤍🗓: งานจัดวันอาทิตย์ ที่ 23มกราคม พ.ศ 2565 อยู่แถวหนองมะนาว ณ บ้านเลขที่106/23 ม.8 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี แห่ขันหมาก 09:29 น. ผูกข้อไม้ข้อมือ 10:29 น. กินเลี้ยง 11:29 น.🙏ขออภัยหากไม่ได้เรียนเชิญด้วยตัวเองหมายเหตุ ไม่ได้ทักไปชวนใคร ต้องเรียนเชิญโพสนี้เลยนะคะ#หากใครไม่ได้มาแต่อยากจะร่วมแสดงความยินดีได้ที่🥰🤟ธนาคารกริกร 014-8339708บิ๊กและ พร้อมเพ 092-7245438 เบนซ์

2 comments

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *